แนวคิด

                       ศิลปะวัฒนธรรม และวิถีชีวิตของคนไทยในชนบท ได้ถูกถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง ซึ่งในขณะเดียวกันรูปแบบของศิลปะวัฒนธรรมนั้นก็มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยอย่างมีเหตุผล จากความเรียบง่าย ตรงไปตรงมา สิ่งเหล่านี้ถือเป็นจิตวิญญาณของชนบทที่มีสเน่ห์ และมีความงามซ่อนเร้นอยู่
                       อาชีพ "การทำอิฐ"มีลักษณะความพิเศษของการใช้วัสดุแต่ละชนิด จากการสร้างสรรค์ผ่านกระบวนการทางวิชาชีพ วิชาช่างภูมิปัญญาท้องถิ่น และความพิเศษที่มาจากการกระทำโดยฝีมือมนุษย์ ก่อให้เกิดความเป็นระเบียบ เป็นความงามในเรื่องจังหวะ การจัดเรียงอิฐที่เกิดขึ้นในวิถีการทำอิฐ ทำให้ข้าพเจ้ามองเห็นถึงมิติใหม่ๆ และเกิดจินตนาการที่เชื่อมโยงไปถึงรูปทรงสิ่งก่อสร้างทางสถาปัตยกรรมที่มีความยิ่งใหญ่อันเป็นที่มาในการสร้างสรรค์ผลงานชุดนี้
                       ข้าพเจ้าปราถนาที่จะนำความประทับใจนี้มาสร้างสรรค์เป็นผลงานศิลปะตามจินตนาการใหม่ เพื่อแสดงให้เห็นถึงคุณค่าในความพิเศษ และความงดงามของการทำอิฐที่มีเสน่ห์เฉพาะตัว โดยผ่านการใช้วัสดุที่มาจากการศึกษาทดลอง และวัสดุที่มาจากวิถีชีวิตจริงในชนบท ถ่ายทอดเป็นผลงานจิตรกรรม สื่อประสม ด้วยวิธีการจัดวางร่วมกับพื้นที่

ภาพผลงาน

ชื่อภาพ : จินตนาการใหม่ จากราชธานีเก่า

เทคนิค : ประกอบไม้สักทอง ไม้ประดู่ ดิน ขี้เถ้าแกลบ
ขนาด : สูง 180 x ยาว 200 x หนา 10 ซม.

ชื่อภาพ : จินตนาการใหม่ จากราชธานีเก่า

เทคนิค : ประกอบไม้สักทอง ไม้พยุง ดิน ขี้เถ้าแกลบ
ขนาด : สูง 90 x ยาว 175 x หนา 25 ซม.

ชื่อภาพ : จินตนาการใหม่ จากราชธานีเก่า

ส่วนที่ 1

เทคนิค : ประกอบไม้เหล็ก ไม้สักทอง
ขนาด : สูง 165 x ยาว 155 x หนา 10 ซม.

 

ส่วนที่ 2

เทคนิค : STAINLESS STEEL ไม้ประดู่ ไม้สักทอง
ขนาด : สูง 130 x กว้าง 60 x หนา 10 ซม.

ชื่อภาพ : จินตนาการใหม่ จากราชธานีเก่า

เทคนิค : อลูมิเนียม ไม้สักทอง ดิน
ขนาด : สูง 200 x ยาว 340 x หนา 22 ซม.